Insight

จากกิจกรรมประจำรายวิชา 01162661 ตามเป้าหมายของรายวิชา ตามลำดับดังนี้

1. องค์ความรู้ที่พึงได้รับ จากกิจกรรมค้นคว้าความรู้จากเครือข่ายเป็นรายบุคคล
ข้าพเจ้าได้รับความรู้จากกิจกรรมค้นคว้าความรู้จากเครือข่ายเป็นรายบุคคลมากมาย ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่างๆ ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและจัดการเรียนรู้ทางด้านหลักสูตรและการสอน แนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจุบัน เช่น เว็บ2.0 และ เว็บ 3.0 ได้ส่งผลให้เกิด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ แบ่งปันข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อย่างกว้างขวาง การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเพื่อใช้งานผ่านเว็บ เป็นจำนวนมากมายมหาศาล และการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ถึงกันได้อย่างไร้พรมแดน ด้านเวลา สถานที่ และ ภาษา  นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบเมลล์ของมก., Facebook group, เว็บบล็อก เป็นต้น ตลอดจนแนวคิดต่างๆ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ เครื่องมือ การให้บริการ และโปรแกรมปฏิบัติการ จนสามารถปฏิบัติงานบนระบบเครือข่ายออนไลน์ได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนแบบกึ่งออนไลน์ (Blended Learning) ได้แก่ การทำงานบนระบบ M@xLearn และติดต่อสื่อสารกันผ่านทาง Facebook group ทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ฝึกคิดวิเคราะห์ โต้ตอบและอภิปรายภาระงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี ข้าพเจ้าสามารถปฏิบัติออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ทางการศึกษาได้ อาทิ เว็บไซต์ส่วนตัวบนเว็บพิรุณ http://pirun.ku.ac.th/~g5517650112 และ E-Portfolio http://kadtisak661.blogspot.com/ โดยสามารถเลือกใช้องค์ประกอบหรือตัวเลือกในการออกแบบต่างๆ ที่เหมาะสม ตามคำแนะนำของอาจารย์ผู้สอน

2. องค์ความรู้ที่พึงได้รับ จากกิจกรรมการอภิปราย สรุปเป็นรายงานกลุ่ม
จากกิจกรรมการอภิปราย สรุปเป็นรายงานกลุ่มทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการการศึกษาต่างๆ เช่น e-Learning, U-Learning, M-Learning, Open Learning, Technology-Based C&I: Showcase - Example ฯลฯ เป็นต้น การค้นคว้า อภิปราย และ นำเสนอรายงานผ่านระบบ KU - LMS ทำให้ตระหนัก ถึงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ E- Learning ดังนี้ ระบบ LMS : Learning Management System เป็นสิ่งจำเป็นต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ E-Learning ที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนด้วยกัน   อีกทั้งผู้สอนและผู้เรียน มีความสำคัญยิ่งต่อการใช้งานระบบ LMS : Learning Management System อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการออกแบบการเรียนรู้ผ่านระบบ LMS : Learning Management System ให้มีประสิทธิภาพ ควรเน้นรูปแบบกิจกรรม และการประเมิน ที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังทำให้ข้าพเจ้ามีความรับผิดชอบมากขึ้น รู้จักตรงต่อเวลา เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รู้แสวงหาจุดร่วมที่เหมาะสม และมีเหตุผล อันเป็นผลมาจากการฝึกปฏิบัติงาน ทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่มที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ปฏิบัติ เห็นคุณค่าและตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในทางการศึกษามากขึ้น เพราะสามารถเปิดโลกทัศน์ทำให้เรามีความรู้ที่กว้างขวางขึ้น ตลอดจนเปลี่ยนพฤติกรรมข้าพเจ้าให้กล้าทดลองออกแบบงานทางเทคโนโลยีใหม่ๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเว็บบล็อก การสร้าง Facebook group เพื่อเป็นห้องสนทนาการเรียนรู้ เป็นต้น

3. องค์ความรู้ที่พึงได้รับ จากกิจกรรมการจัดทำโครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาหลักสูตรและการสอน
ผู้ใช้สื่อคือสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงและกำหนดเป็นอย่างแรกเมื่อพัฒนาสื่อทางการศึกษา ควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน คือ การศึกษาสื่อเครื่องมือทางเทคโนโลยี ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นการสร้างและพัฒนาสื่อด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาหลักสูตรและการสอน ผู้สร้างและพัฒนาต้องพิจารณาผู้ใช้สื่อเป็นลำดับแรกสุด เพื่อให้รู้ถึงระดับความรู้ที่จะให้ผู้เรียนผ่ายสื่อนั้นๆ จากนั้นจึงไปกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อร่าง/ออกแบบสคริป (Script) และพัฒนาเป็น Story Board ในลำดับต่อไป แล้วจึงกำหนดเมนูหลักและเมนูย่อยใน Story Board ด้วย ซึ่งจัดเป็นการสร้างสื่อโดยใช้หลักสูตรเป็นตัวนำมากกว่าการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนำ อาจกล่าวได้ว่า “ความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ทำให้ครู นักการศึกษา สามารถคิดออกแบบจัดทำสื่อการศึกษา โดยใช้แนวคิดและความต้องการทางหลักสูตรและการสอน เป็นตัวนำ มากกว่าใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนำ” จากนั้นจึงดำเนินการร่างสคริปดังที่กล่าวมา ด้วยเหตุดังกล่าวข้าพเจ้าจึงสามารถปฏิบัติออกแบบและการพัฒนาทรัยพากรการเรียนรู้ออนไลน์สาระภูมิศาสตร์โดยใช้เว็บบล็อกสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ช่วงชั้นที่ 4 ได้ การจัดทำสื่อประเภททรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์ ควรเริ่มด้วยการสำรวจแหล่งความรู้ และรูปแบบความรู้ ที่มีบนระบบเครือข่าย และการจัดทำ Content Script ควรได้รับการจัดทำและตรวจสอบก่อน ในขั้นตอนการพัฒนาสื่อการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยี อักทั้งการออกแบบเมนูหลักและเมนูย่อย ควรใช้ข้อความตามหัวข้อความรู้โดยปรับให้สั้นกระชับ เป็นต้น

สำหรับข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนการสอนในโอกาสต่อไป ก็คือ
- อยากให้อาจารย์แนะนำการใช้โปรแกรมการใช้เว็บไซต์ต่างๆ เช่น googlesite weebly ฯลฯ โดยให้นิสิตได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อดี ข้อจำกัด ของเครื่องมือแต่ละประเภท ตลอดจนสามารถเลือกใช้เครื่องมือในการจัดทำโครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาหลักสูตรและการสอนอย่างชาญฉลาด


ข้าพเจ้าขอกราบขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.มธุรส จงชัยกิจ อาจารย์ผู้สอนในรายวิชานี้เป็นอย่างสูงที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ข้าพเจ้า จนสามารถประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมายของรายวิชานี้ได้ตามที่ระบุไว้ในคำอธิบายรายวิชา และข้าพเจ้าจะนำความรู้ไปขยายผลในแวดวงการศึกษาและใช้ต่อยอดความรู้ต่อไปใชวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

**************************************************************************

Conclusion & Suggestion

Many things I had learnt in this course.
- How to use blogger apply to my project and prototype
- Learning System: Planning/Designing, Doing, Checking, Acting/Applying.

I wanna suggest the lecturer
- Lecturer should reduce speed of learning because of the diffrent learning style of students.
- At the present, being cared and shared society. Creating project and prototype according to draft project on webblog can respond this principle.
- Lecturer should apply how to create new website i.g. using google chorme as where we can link directly in the other hand we cannot link documents (i.g. .doc, .docx, and .pdf ) on blog.

By Mr.Kiadtisak Chaiyana
PhD student (Curriculum $ Instruction)
Faculty of Education, Kasetsart University.


No comments:

Post a Comment